วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สรุประบบสารสนเทศในงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า

ระบบสารสนเทศในงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
สินค้าคงคลัง เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องมีเพื่อการดำเนิน งาน และมีสภาพคล่องสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ไม่ลำบาก การจัดหาสินค้าคงคลัง สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 สั่งผลิตหรือจัดซื้อมาจะทำได้กับธุรกิจที่ช่วงระยะเวลาส่งของให้ลูกค้านานพอที่จะไปดำเนินการจัดซื้อหรือผลิตได้
วิธีที่ 2 วางแผนจัดหาสินค้าคงคลังโดยพิจารณา จากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการวางแผนจัดเตรียมสินค้าคลังไว้ล่วงหน้า

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การทำงานมีความยืดหยุ่น ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
2. เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย

1.งานสินค้าคงคลัง ( Inventory )หมายถึง กระบวนการบริหารและควบคุมสินค้าที่สำรองไว้ให้มีปริมาณและมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในธุรกิจ# มีจุดประสงค์หลักที่จะสำรองสินค้าอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอเสมอ สำหรับการเบิกจ่ายโดยปราศจากการขาดมือของสินค้า# มีเป้าหมายที่จะใช้ต้นทุนน้อยที่สุด ในการสำรองสินค้าและการดำเนินงานหากให้ ผลกำไรที่สูงสุดแก่ธุรกิจขององค์กร
2.งานคลังสินค้า (Warehousing) คือ กระบวนการเก็บ หยิบ ส่งสินค้า
3.คลังสินค้า( Warehouse) คือ
สถานที่ใช้เก็บสินค้าที่ผลิตออกมา/สำรองสินค้าที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะนำไปขาย/เบิกจ่ายหรือสำรองสินค้าไว้และเป็นจุดพักสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง (wholesale) หรือผู้ค้าปลีก (Retail outlets)
คลังสินค้ามีองประกอบสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า
1. โครงสร้างทางวิศวกรรมของอาคารสถานที่
2. อุปกรณ์ที่จำเป็น
3. บุคลากร
4. การขนส่งสินค้า
5. ระบบการส่งต่อเอกสารและการบันทึกบัญชีประจำวัน

ประเภทของคลังสินค้า ตามลักษณะการครอบครอง
-คลังสินค้าเอกชน Private Warehouse เป็นทรัพย์สินขององค์กรเจ้าของสินค้า Owner ซึ่งบริหารและการดำเนินการเองทั้งหมด เก็บเฉพาะสินค้าที่ต้องการ
-คลังสินค้าสาธารณะ Public Warehouse เป็นคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจรับดำเนินการติดตั้งระบบการ คลังสินค้าให้กับหลายองค์กรมาใช้บริการ
2 องค์ประกอบของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item) คือ สินค้าที่องค์กรเก็บสำรองไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ แบ่งได้ 3 ประเภท
1.1วัตถุดิบที่ใช้ป้อนกระบวนการผลิต (Raw goods)
1.2สินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต (Work in Process /WIP)
1.3สินค้าคงคลังสำเร็จรูป (Finished Inventories)
2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level) คือ ปริมาณสินค้าคงคลังที่พอเหมาะกับกิจการขององค์กรโดยใช้ต้นทุนและปราศจากเหตุการณ์สินค้าไม่เพียงพอการเบิกจ่าย
3. จุดสั่งใหม่ มี 3 ประเภท คือ
3.1 ระบบปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด(Economic Order Quantity System : EOQ)
3.2 ระบบรอบเวลาสั่งซื้อที่คงที่ (Fixed Interval System)
3.3 ระบบจัสท์อินไทม์ (Just In Time : JIT)
4. สินค้าทดแทน (Substituted Item)
5. สินค้าส่งคืน (Returned/reject Item)

องค์ประกอบหลักของงานคลังสินค้า แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1.) โครงสร้างของคลังสินค้า ( Warehouse Configuration)
2.) เจ้าของสินค้า และ ผู้รับสินค้า (Owner)
3. )สินค้า (Product) เช่น กลุ่ม (Group) และ กลุ่มย่อย (Sub-group) หน่วยนับ (Unit )

3 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง
1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง
1.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้
1.2 เตรียมเครื่องใช้สำนักงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 ข้อมูลทั่วไปในการสร้างแฟ้มข้อมูลหลัก
1.4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1.5 วางแผนกระทำการติดตั้งระบบ
1.6 กำหนดแผนการใช้งานคู่ขนาน
2. การติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง
2.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้
2.2 สร้างแฟ้มข้อมูลหลัก
2.3 บันทึกยอดยกมาของสินค้าแต่ละชนิด
4 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศคลังสินค้า
1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า
1.1 คลังสินค้า
1.2 เจ้าของสินค้า
1.3 สถานที่จัดส่ง
1.4 สินค้า
1.5 บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.6 วางแผนโครงการติดตั้งระบบ
1.7 ยอดยกมาของสินค้าคงเหลือ
2. การติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า ลักษณะเดียวกับสินค้าคงคลัง
3.การดำเนินงานระบบสารสนเทศงานสินค้า
5.การกระทบยอดบัญชีระหว่างระบบสารสนเทศงานสินค้าคงคลัง

Case Study


กรณีศึกษา การประยุกต์เทคโนโลยีจัดเก็บและเคลื่อนย้ายของบริษัทที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลาสติก
ลักษณะธุรกิจ
เป็นโรงงานผลิตถ้วยพลาสติกหลายขนาด จำนวนสินค้าที่ผลิต และจำหน่ายมีมากกว่า 400 ชนิด โรงงานมีกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มนำ เม็ดพลาสติกและเก็บเป็นม้วน และนำมาขึ้นรูป ตัด และพิมพ์สี บรรจุภัณฑ์ ซ้ำซ้อน สินค้าระหว่างผลิต ถูกนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าสำเร็จรูปรอการผลิตและจัดส่งผังการผลิต และจัดเก็บ

ปัญหาที่เกิดขึ้น
- การจัดซื้อไม่สอดคล้องกับการผลิต ขาดการวางแผนระบบงาน
- การจัดเก็บวัตถุดิบทำให้เกิดงานซ้ำซ้อน ต้องเก็บในคลังสินค้าสำเร็จรูป เสียเวลาเคลื่อนย้ายมาก
- ใช้พื้นที่คลังและปริมาตรคลังสินค้าไม่เต็มพื้นที่ใช้เพียง 30%
- ขาดการประยุกต์ในการเคลื่อนย้ายแบบเป็นระบบ ทำให้ระยะทางเคลื่อนย้ายไกลมาก

ผลจากการปรับปรุง
1.ปรับผังกระบวนการผลิตและคลังสินค้าใหม่ เพื่อลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายตามรูป
2. จัดทำระบบจัดเก็บระบบ Selective Rack เพื่อลดการใช้พื้นที่จากภายนอกและการขนส่ง
3.เปลี่ยนจากการบรรจุเม็ดพลาสติกแบบถุง มาใช้ระบบป้อนเม็ดพลาสติกเข้าเครื่องจากไซโลแบบอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน
4. แผ่นพลาสติก ไม่ต้องส่งไปเก็บยังคลังสินค้าสำเร็จรูป แต่สร้างโรงงานบริเวณเหนือโรงพิมพ์สี โดยเป็นโครงสร้าง เหล็กชั้นลอยแบบแยกประกอบในที่สามารถเก็บสินค้าได้ รวมถึงวัสดุสำหรับ บรรจุภัณฑ์
5. สินค้าสำเร็จรูปหลังจากพิมพ์สามารถบรรจุ และส่งผ่านสายพานลำเลียงแบบใช้แรงโน้มถ่วง
6. การเจรจาต่อรองของฝ่ายขาย โดยทำบรรจุภัณฑ์เป็นมาตรฐานคล้ายกันและประยุกต์ได้กับลูกค้าหลายบริษัท ทำให้ลดต้นทุนค่าติดตั้งและปรับเครื่องใหม่
7. สิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นไม่เกิดอุบัติเหตุ8. ลดต้นทุนในการดำเนินงานเฉพาะในส่วนโรงงานได้มากกว่า 20 ล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กฎหมายเกี่ยวกับคลังสินค้า


พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล
พ.ศ.2496
-------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496"

มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 เมื่อรัฐบาลเห็นเป็นการสมควรจะจัดตั้งองค์การเพื่อดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจ หรือช่วยเหลือในการครองชีพ หรืออำนวยบริการแก่ประชาชน โดยใช้เงินทุนจากงบประมาณแผ่นดินก็ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 4 องค์การซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามความในพระราชบัญญัตินี้ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล

มาตรา 5 ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตามความในมาตรา 3 อย่างน้อยจะต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
(1) ชื่อขององค์การ
(2) ที่ตั้งของสำนักงานแห่งใหญ่
(3) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ทุนซึ่งได้รับอนุมัติ
(5) การจัดสรรผลประโยชน์
(6) การควบคุมและการบริหารกิจการขององค์การตลอดจนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ แล้วแต่กรณี
(7) การบัญชี การสอบ และการตรวจ
(8) ข้อกำหนดอื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อให้กิจการขององค์การได้ ดำเนินไปโดยเรียบร้อย

มาตรา 6 การยุบเลิกองค์การตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย

มาตรา 7 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

บทความเทคโนโลยี+คลังสินค้า

TAGS โชว์ศักยภาพโครงการ ITX-FZ
ณ สนามบินสุวรรณภูมิจับมือพันธมิตรรับ
สัญญา 700 ลบ.นำไทยสู่ผู้นำโลจิสติกส์อาเซียน

www.ThaiPR.net -- อังคารที่ 20 กันยายน 2005 13:57:16 น.

กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์ นายอนุพงษ์ โรจน์ครินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด(TAGS) กล่าวถึงการจัดทำโครงการ IT Sysstem and X-ray System for Zone(ITX-FZ) ซึ่ง TAGS ได้รับมอบหมายจากบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด เพื่อจัดทำระบบไอทีในบริเวณคลังสินค้าปลอดภาษี ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยมูลค่า 700 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าว TAGS ร่วมกับพันธมิตรเพื่อจัดทำ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลในการสร้างศักยภาพของสนามบินแห่งชาติแห่งใหม่ให้สามารถรองรับและให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการบริการคลังสินค้าปลอดภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โดยใช้เวลาจัดทำโครงการทั้งสิ้น 5 เดือน และมีกำหนดส่งมอบงานในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งงานแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด TAGS เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ
นายศุภชัย แก้วศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทไทย แอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด(TAGS) กล่าวในฐานะประธานโครงการ ITX-FZ ฝ่ายผู้รับดำเนินโครงการ ว่า โครงการ IT System and X-ray System for Cargo Free Zone เป็นโครงการจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารจัดการคลังสินค้าปลอดภาษีของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ โดยเน้นให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดส่งสินค้าของภูมิภาคเอเชียน(Asian Logistics IIub) บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ได้นำเสนอแผนแม่บทการจัดการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมโครงการหลักทั้งส่วน Hard ware และ Soft were ต่อรัฐบาล จนได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ดำเนินโครงการและใช้เวลาดำเนินโครงการ 5 เดือน นอกจากนี้ TAGS ยังได้รับโอกาสให้ดูแลโครงการต่อเนื่องอีก 2 ปีภายหลังติดตั้งระบบแล้วเสร็จ โครงการ ITX-FZ เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเอ็กซ์เรย์ที่เชื่อมโยงการทำงานภายในบริเวณคลังสินค้าปลอดภาษีของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเชื่อมโยงการทำงานเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ด้าน คือการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยมี ACCS Data Center ที่ TAGS พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการทำงานทุกส่วนทั้งภายในและภายนอกบริเวณคลังสินค้าปลอดภาษี เพื่อให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าในบริเวณคลังสินค้าปลอดภาษีเป็นไปได้อย่างรวดเร็วหรือสิ้นสุดลงในเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการเป็นจุดพักสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่ 3 โดยไม่จำเป็นต้องนำสินค้าออกไปเก็บยังคลังสินค้าภายนอกสนามบิน เพื่อให้เกิดความล่าช้าด้วย จุดเด่นของโครงการ ITX-FZ ว่า TAGS ได้คาดการณ์ถึงการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ จึงวางแผนให้โครงการดังกล่าวรองรับการเติบโตของประเทศด้านลอจิสต์ติกส์มากกว่า 10 ปี โดยเฉพาะการเลือกใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายรองรับระบบต่างๆ ทั้งด้านการจัดเก็บ ค้นหา ตรวจสอบ ติดตามการเคลื่อนตัวของสินค้าซึ่งผู้ใช้บริการจากทั่วโลกสามารถตรวจสอบได้ด้วยระบบ RFID จากทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดก็ตาม นอกจากนี้ระบบยังมีจุดเด่นที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานทั้งเทคโนโลยีเก่าและเทคโนโลยีใหม่ จึงไม่มีอุปสรรคในการเชื่อมโยงระบบกับทุกๆ หน่วยงานโดย TAGS จะเป็นผู้ดูแลระบบต่อเนื่อง 2 ปี
บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2533 ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อรับรองและให้บริการแก่ผู้ประกอบการทั่วไปที่ต้องการทำธุรกิจระหว่างประเทศ วิสัยทัศน์ของบริษัทคือการก้าวสู่ความเป็นบริษัทระดับผู้นำด้านการให้บริการภาคพื้นดินแบบครบวงจร แก่ผู้ใช้บริการการท่าอากาศยานด้วยบุคลากรและการบริการที่มีประสิทธิภาพ TAGS มีการให้บริการหลัก 5 ประเภท ได้แก่ การให้บริการคลังสินค้า การให้บริการคลังสินค้าเร่งด่วน การให้บริการด้านลานจอดอากาศยาน การให้บริการงานสัญญาพิเศษและการให้บริการด้านการโดยสาร การให้บริการที่ทรงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ TAGS ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรและหน่วยงานชั้นนำของโลกหลายแห่ง นอกจากนี้ TAGS ยังได้รับความไว้วางใจจากท่าอากาศยานสุวรรภูมิให้จัดทำโครงการ IT System and X-ray System for Cargo Free Zone (ITX-FZ) ในบริเวณคลังสินค้าปลอดภาษีเพื่อรองรับการสร้างให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คำถามทบทวน

1.คลังสินค้าหมายถึงอะไร

พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ
2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่


2.การจัดการคลังสินค้ามีการจัดการกับกิจกรรมใดบ้าง

การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหาร ดำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการ ลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการ

ดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่


3.วัฒถุประสงค์ของการจัดการสินค้าเพื่ออะไร

1 ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด
2. การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
4. สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้องการในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์
5. สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กำหนด

4.กิจกรรมหลักของคลังสินค้าและความสัมพันธ์กับกิจอื่นในการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

1. การคลังสินค้าและการผลิต การผลิตสินค้าจำนวนน้อยทำให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนน้อยลง ซึ่งทำให้ต้องการพื้นที่เก็บสินค้าจำนวนน้อย ทำให้ต้องมีการผลิตบ่อยครั้งซึ่งทำให้ต้นทุนการตั้งเครื่องจักร และต้นทุนการเปลี่ยนสายการผลิตสูง ในทางตรงกันข้ามถ้าผลิตสินค้าจำนวนมากทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่ทำให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนมากและต้องการพื้นที่ในการเก็บสินค้าจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารจึงควรเปรียบเทียบระหว่างตันทุนการผลิตที่สามารถประหยัดได้ และต้นทุนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำให้ได้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด
2. การคลังสินค้าและการขนส่ง คลังสินค้าจะรับวัตถุดิบจากผู้ขายปัจจัยการผลิตหลายรายการเพื่อรวบรวมเป็นขนาดการขนส่งใหญ่ขึ้นและส่งป้อนโรงงานการผลิตต่อไป ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการขนส่ง
3. การคลังสินค้าและการให้บริการลูกค้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการตลาดอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบถึงการเก็บสินค้าในคลังสินค้าได้ ดังนั้นคลังสินค้าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บสินค้าส่วนเกินกว่าความต้องการลูกค้าไว้จำนวนหนึ่งสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ในกรณีที่การผลิตมีปัญหาหรือการส่งมอบจากโรงงานล่าช้ากว่าผิดปกติ

5.Swot Analysis คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างงานที่เกี่ยวกับระบบงานคลังสินค้า

SWOT Analysis คือปัจจัย 4 ประการ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพภายในของกิจการ ประกอบด้วย Strength Weakness Opportunities และ Threat

Strength และ Opportunities คือปัจจัยเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร Weakness และ Threat คือปัจจัยบั่นทอนศักยภาพขององค์กร จึงเป็นเหมือนขั้ว + และ ขั้ว - ที่ปะปนคละเคล้ากัน ซึ่งถ้าเราเพิ่มปัจจัยบวกและลดปัจจัยลบให้ได้มากที่สุด ศักยภาพของธุรกิจก็จะมีความเข้มแข็งโดยปริยาย
Strength คือจุดแข็ง จุดที่ได้เปรียบหรือจุดที่สามารถแข่งขันได้ Strength ของบริษัทอยู่ที่ การเงิน ความเป็นผู้นำทางการตลาด ภาพพจน์ที่มีมานาน ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ คุณภาพของวัตถุดิบ ทักษะของคนงาน ฯลฯ

Opportunities คือโอกาสหรือช่องทางที่สามารถจะนำมาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของเราได้ เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาดที่ยังพอมีที่ว่างให้เราแทรกเข้าไป การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มากระทบจนคาดว่าว่าคู่แข่งต้องปรับตัว การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจจะพลิกสถานการณ์ทางการตลาดให้กับสินค้าของเราได้

Threat คือสิ่งที่ธุรกิจอยากหลีกเลี่ยงและไม่อยากพบพาน เพราะหมายถึงผลกระทบทางลบที่จะมีต่อการประกอบธุรกิจ เช่นภาวะถดถอยทางธุรกิจ การเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งรายใหม่ๆ ซัพพลายเออร์หรือคู่ค้ามีอำนาจต่อรองมากขึ้น รวมถึงการออกกฎหมาย ข้อระเบียบการใหม่ๆ ของทางการ ซึ่งอาจสร้างกรอบ หรือข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจให้เกิดขึ้นได้

Weakness หมายถึงจุดอ่อนหรือจุดเสียเปรียบ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เช่น เงินทุน ความสามารถในการจัดการ หรือทักษะทางการตลาด หรือภาพพจน์ของสินค้า

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

วิธีรักษามะเร็ง แบบธรรมชาติ



ใครที่ต้องการรักษาโรคมะเร็ง วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีการรักษามะเร็งแบบธรรมชาติมาฝากกัน...



1. จิตใจ ต้องสู้
2. อาหาร งดเว้นเนื้อสัตว์ (ปลารับประทานได้) แล้วหันมารับประทานอาหาร 15 ชนิดได้แก่


- ธัญพืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวกล้อง,ข้าวม้ง,ข้าวบาเล่ย์,ข้าวสาลี และลูกเดือย นำมาหุงด้วยหม้อข้าวไฟฟ้าและรับประทาน

- ผักผลไม้ 10 ชนิด ได้แก่ หอมหัวใหญ่,มันฝรั่งหรือมันเทศ,กล้วยน้ำว้าสุก (8 ลูก/วัน),ฟักทอง,ข้าวโพดหวาน,ยอดแค,ถั่วพู (2 ชนิดนี้ห้ามขาด) บลอคโคลี่ หรือกระหล่ำดอก,ถั่วหวานและคะน้าฮ่องกง (ผักผลไม้ 5 ชนิดแรกใช้นึ่ง) นำทั้ง 10 ชนิดมาหั่นเป็นชิ้นๆ นำมาเข้าเครื่องปั่นแบบไม่ต้องละเอียดมาก เพื่อให้กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อย จากนั้นนำมารับประทานหนัก 1 กก./วันกับธัญพืช



3. อาบน้ำ ร้อนสลับน้ำเย็นหรือเย็นสลับร้อนอย่างละ 2 นาที รวมเวลา 10 นาที 1 ครั้ง/วัน


เตรียมน้ำร้อน โดยใช้เครื่องทำน้ำร้อน เตรียมน้ำเย็นโดยหาถังน้ำใส่น้ำแข็งแล้วอาบร้อนจัดและเย็นจัด เท่าที่ร่ายกายทนได้ ภูมิต้านทานโรคทั้ง 2 จำพวกจะถูกกระตุ้นขึ้นมาทำหน้าที่อย่างแข็งขัน



4. การออกกำลังกาย เดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ประมาณ 45 นาที/วัน



รู้อย่างนี้แล้ว ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประวัติ Rolex

Rolex ก่อตั้งขึ้นในปี คศ.1908 โดย ฮันส์ วิลส์ดอร์ฟ (Hans Wilsdorf) ชาวเยอรมัน ซึ่งในตอนแรกใช้ชื่อบริษัทว่า วิลส์ดอร์ฟแอนด์เดวิส โดยที่เข้าหุ้นกับน้องเขยซึ่งในขณะนั้น การผลิตนาฬิกาแบบพก (Pocket Watch) ส่วนใหญ่ผลิตที่สวิสเซอร์แลนด์ยังประสบปัญหา ในการทำให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงและแม่นยำเชื่อถือได้เพื่อนำมาใส่ในตัวเรือนนาฬิกาข้อมือ วิลส์ดอร์ฟ เป็นผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบในการพัฒนาเครื่องให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงเพื่อนำมาใช้กับนาฬิกาข้อมือ ที่สามารถสื่อถึงสไตล์ แฟชั่น และรสนิยม ซึ่งในระยะแรกได้ให้ Aegler บริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในสวิสเป็นผู้ผลิตเครื่องให้ ในปี 1910 Rolex ได้ส่งนาฬิกาไปที่ School of Horology และได้รับรางวัลในฐานะนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกที่ได้ Chronometer Rating ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้นี้เกิดจากการปฏิวัติรูปแบบใหม่ทำให้สามารถกันน้ำและฝุ่นเข้าตัวเรือนได้โดยการคิดระบบมะยมแบบเกลียว(Screw Crown) ขึ้น ซึ่งนาฬิกากันน้ำเรือนแรกนี้ถูกนำมาโฆษณาอย่างชาญฉลาดโดยทำเป็นอะควาเรียม คือโชว์หน้าร้านโดยมีนาฬิกาอยู่ในโลกใต้ทะเลอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติการกันน้ำได้อย่างชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ยังแคลงใจว่านาฬิกาจะกันน้ำได้จริงหรือไม่ นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของชื่อเสียงที่ทำให้โรเล็กซ์ดังไปทั่วโลก



ปี 1928 Rolex Prince ได้ชื่อว่าเป็นนาฬิกาที่ขายดีที่สุดจากดีไซน์สี่เหลี่ยม 2 หน้าปัด
ปี 1931 Rolex ได้ประดิษฐ์ Rotor รูปครึ่งวงกลมซึ่งหมุนได้อย่างอิสระที่ทำให้เกิดระบบ Perpetualอัตโนมัติขึ้น





สิ่งที่ทำให้ Rolex โดดเด่นเหนือนาฬิการะดับสูงอื่น ๆ คือ รูปทรงกลมขนาดใหญ่ของหน้าปัดและสายที่มีความกว้าง แต่สง่างามมองเห็นได้แต่ไกลซึ่งพิสูจน์ความเป็นอมตะไว้อย่างยาวนาน แม้ Rolex จะมีพัฒนาการด้านดีไซน์ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย Rolex รุ่น Datejust จากปี 1945 ถึงรุ่นปัจจุบัน คุณจะพบว่า แม้ตัวเครื่องและชิ้นส่วนภายในแทบจะไม่มีชิ้นไหนเหมือนและใช้แทนกันได้เลย แต่รูปลักษณ์ภายนอกกลับเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คุณค่าเหนือกาลเวลาของโรเล็กซ์กลายเป็น "การลงทุนที่ชาญฉลาด" สำหรับนักสะสมนาฬิกาหลายคน การประมูลนาฬิกา โรเล็กซ์รุ่นเก่า ๆ สามารถสร้างความฮือฮาให้เกิดขึ้นได้เสมอ


วิลส์ดอร์ฟ ไม่ใช่ผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรก แต่เขาต้องการเป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ เที่ยงตรง(Accurate) และเชื่อถือได้ (Reliable) ให้ได้เป็นเรือนแรกของโลก ซึ่งในปี 1926 โรเล็กซ์ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่วงการด้วยรุ่น Oyster ระบบมะเย็มเกลียว และซีลยางเป็นการล็อค 2 ชั้นไม่ให้ฝุ่นและความชื้นเข้า


โรเล็กซ์ผลิตเครื่องภายใน ด้วยตัวเองซึ่งไม่เหมือนกับแบรนด์ดังอื่น ๆ ที่อาจใช้ของกันและกันได้ ที่โรเล็กซ์ช่างฝีมือกว่า200 คนรวมทั้งช่างเทคนิคจะต้องช่วยกันผลิตนาฬิกาแต่ละเรือนตามมาตรฐานเพื่อให้ได้ตราประทับของโรเล็กซ์ " มัน(จำเป็นต้องมีคุณภาพ) มากกว่าที่คนทั่วไปต้องการมาก มันจึงเป็น Mercedes Benz ของนาฬิกาข้อมือ มันมากกว่าความเป็นวิศวกรรม และมันไม่ใช่เพื่อเงินแต่มันเป็นวิถีของโรเล็กซ์"



ก่อนส่งออกจากเจนีวา โรเล็กซ์ทุกเรือนจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพหลายครั้ง เช่น หน้าปัด ขอบหน้าปัด ปุ่มกดต่าง ๆ จะถูกตรวจซ้ำ ๆ เพื่อหารอยขีดข่วน การตรวจระยะห่างและแนวขนานต่าง ๆ ของกลไกและเข็มที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การตรวจสอบระบบกันน้ำให้ได้อย่างน้อย 330 ฟุต หรือแม้แต่การปรับช่วงความคลาดเคลื่อนของเวลาที่จะมีขึ้น 2 วินาทีในทุก ๆ 100 ปี เหล่านี้คือมาตรฐานก่อนประทับตรา Rolex ซึ่งทำให้ในแต่ละปี จะผลิตเพียงประมาณ 650,000 เรือนเท่านั้น จำนวนนี้อาจดูเหมือนมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านี่ยังน้อยกว่าความต้องการของตลาดมากนัก แต่นั่นแหละคือสิ่งที่อังเดร ไฮนีเกอร์กล่าวไว้ "เราไม่ได้ต้องการที่จะใหญ่ที่สุด แต่หากเป็นหนึ่งในผู้ที่ "ดีที่สุด" ในอุตสาหกรรม"