วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประวัติ Rolex

Rolex ก่อตั้งขึ้นในปี คศ.1908 โดย ฮันส์ วิลส์ดอร์ฟ (Hans Wilsdorf) ชาวเยอรมัน ซึ่งในตอนแรกใช้ชื่อบริษัทว่า วิลส์ดอร์ฟแอนด์เดวิส โดยที่เข้าหุ้นกับน้องเขยซึ่งในขณะนั้น การผลิตนาฬิกาแบบพก (Pocket Watch) ส่วนใหญ่ผลิตที่สวิสเซอร์แลนด์ยังประสบปัญหา ในการทำให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงและแม่นยำเชื่อถือได้เพื่อนำมาใส่ในตัวเรือนนาฬิกาข้อมือ วิลส์ดอร์ฟ เป็นผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบในการพัฒนาเครื่องให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงเพื่อนำมาใช้กับนาฬิกาข้อมือ ที่สามารถสื่อถึงสไตล์ แฟชั่น และรสนิยม ซึ่งในระยะแรกได้ให้ Aegler บริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในสวิสเป็นผู้ผลิตเครื่องให้ ในปี 1910 Rolex ได้ส่งนาฬิกาไปที่ School of Horology และได้รับรางวัลในฐานะนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกที่ได้ Chronometer Rating ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้นี้เกิดจากการปฏิวัติรูปแบบใหม่ทำให้สามารถกันน้ำและฝุ่นเข้าตัวเรือนได้โดยการคิดระบบมะยมแบบเกลียว(Screw Crown) ขึ้น ซึ่งนาฬิกากันน้ำเรือนแรกนี้ถูกนำมาโฆษณาอย่างชาญฉลาดโดยทำเป็นอะควาเรียม คือโชว์หน้าร้านโดยมีนาฬิกาอยู่ในโลกใต้ทะเลอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติการกันน้ำได้อย่างชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ยังแคลงใจว่านาฬิกาจะกันน้ำได้จริงหรือไม่ นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของชื่อเสียงที่ทำให้โรเล็กซ์ดังไปทั่วโลก



ปี 1928 Rolex Prince ได้ชื่อว่าเป็นนาฬิกาที่ขายดีที่สุดจากดีไซน์สี่เหลี่ยม 2 หน้าปัด
ปี 1931 Rolex ได้ประดิษฐ์ Rotor รูปครึ่งวงกลมซึ่งหมุนได้อย่างอิสระที่ทำให้เกิดระบบ Perpetualอัตโนมัติขึ้น





สิ่งที่ทำให้ Rolex โดดเด่นเหนือนาฬิการะดับสูงอื่น ๆ คือ รูปทรงกลมขนาดใหญ่ของหน้าปัดและสายที่มีความกว้าง แต่สง่างามมองเห็นได้แต่ไกลซึ่งพิสูจน์ความเป็นอมตะไว้อย่างยาวนาน แม้ Rolex จะมีพัฒนาการด้านดีไซน์ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย Rolex รุ่น Datejust จากปี 1945 ถึงรุ่นปัจจุบัน คุณจะพบว่า แม้ตัวเครื่องและชิ้นส่วนภายในแทบจะไม่มีชิ้นไหนเหมือนและใช้แทนกันได้เลย แต่รูปลักษณ์ภายนอกกลับเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คุณค่าเหนือกาลเวลาของโรเล็กซ์กลายเป็น "การลงทุนที่ชาญฉลาด" สำหรับนักสะสมนาฬิกาหลายคน การประมูลนาฬิกา โรเล็กซ์รุ่นเก่า ๆ สามารถสร้างความฮือฮาให้เกิดขึ้นได้เสมอ


วิลส์ดอร์ฟ ไม่ใช่ผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรก แต่เขาต้องการเป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ เที่ยงตรง(Accurate) และเชื่อถือได้ (Reliable) ให้ได้เป็นเรือนแรกของโลก ซึ่งในปี 1926 โรเล็กซ์ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่วงการด้วยรุ่น Oyster ระบบมะเย็มเกลียว และซีลยางเป็นการล็อค 2 ชั้นไม่ให้ฝุ่นและความชื้นเข้า


โรเล็กซ์ผลิตเครื่องภายใน ด้วยตัวเองซึ่งไม่เหมือนกับแบรนด์ดังอื่น ๆ ที่อาจใช้ของกันและกันได้ ที่โรเล็กซ์ช่างฝีมือกว่า200 คนรวมทั้งช่างเทคนิคจะต้องช่วยกันผลิตนาฬิกาแต่ละเรือนตามมาตรฐานเพื่อให้ได้ตราประทับของโรเล็กซ์ " มัน(จำเป็นต้องมีคุณภาพ) มากกว่าที่คนทั่วไปต้องการมาก มันจึงเป็น Mercedes Benz ของนาฬิกาข้อมือ มันมากกว่าความเป็นวิศวกรรม และมันไม่ใช่เพื่อเงินแต่มันเป็นวิถีของโรเล็กซ์"



ก่อนส่งออกจากเจนีวา โรเล็กซ์ทุกเรือนจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพหลายครั้ง เช่น หน้าปัด ขอบหน้าปัด ปุ่มกดต่าง ๆ จะถูกตรวจซ้ำ ๆ เพื่อหารอยขีดข่วน การตรวจระยะห่างและแนวขนานต่าง ๆ ของกลไกและเข็มที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การตรวจสอบระบบกันน้ำให้ได้อย่างน้อย 330 ฟุต หรือแม้แต่การปรับช่วงความคลาดเคลื่อนของเวลาที่จะมีขึ้น 2 วินาทีในทุก ๆ 100 ปี เหล่านี้คือมาตรฐานก่อนประทับตรา Rolex ซึ่งทำให้ในแต่ละปี จะผลิตเพียงประมาณ 650,000 เรือนเท่านั้น จำนวนนี้อาจดูเหมือนมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านี่ยังน้อยกว่าความต้องการของตลาดมากนัก แต่นั่นแหละคือสิ่งที่อังเดร ไฮนีเกอร์กล่าวไว้ "เราไม่ได้ต้องการที่จะใหญ่ที่สุด แต่หากเป็นหนึ่งในผู้ที่ "ดีที่สุด" ในอุตสาหกรรม"

1 ความคิดเห็น:

kparit กล่าวว่า...

ข้อความยาวมาก แบบนี้ใครเห็นก็ไม่อยากอ่าน..ลายตาครับ..วิธีการคือควรสรุป..และเสริมความคิดเห็นส่วนตัวหรือเพิ่มเติมด้วยคำพูดของตัวเองบ้าง
อ.เขมปริต